วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

16.สงครามโลกครั้งที่ 2




สงครามโลกครั้งที่ 2
1x42.gif

........1 กันยายน พ.ศ. 2482(ค.ศ. 1939) - 2 กันยายน พ.ศ. 2488  (ค.ศ. 1945)

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2

........1.ความไม่ยุติธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมนีต้องรับผลจากการสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างรุนแรง
........2.ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการ
........3.ลัทธิชาตินิยมในประเทศเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น
........4.ลัทธินิยมทางทหาร
........5.นโยบายต่างประเทศที่ไม่แน่นอนของอังกฤษ
........6.ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ
........7.บทบาทของสหรัฐอเมริกา
........8.สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก

........โดยชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อกองทัพเยอรมนีบุกโปแลนด์เมื่อ 1 กันยายน 1939
........เนื่องจากโปแลนด์ปฏิเสธที่จะยกเมืองท่า ดานซิก และฉนวนโปแลนด์ในเยอรมนี อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งมีสัญญาค้ำประกันเอกราชของโปแลนด์
........อังกฤษและฝรั่งเศส จึงยื่นคำขาดได้เยอรมันถอนทหารออกจากโปแลนด์ เมื่อฮิตเลอร์ไม่ปฏิบัติตาม
........ทั้งสองประเทศจึงประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อเริ่มสงครามนั้น ประเทศคู่สงครามแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ

........ฝ่ายอักษะ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่น

........ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย

มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆดังนี้

........วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) เยอรมันรุกรานโปแลนด์,
........วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ญี่ปุ่นรุกรานจีน (วันเริ่มต้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2)
........ในปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ญี่ปุ่นรุกแมนจูเรีย
........สมรภูมิในแปซิฟิคและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือหลักของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์
........และการบุกยึดประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทยในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941
........ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้บุกไปถึงพม่า นิวกินี และ เกาะกัวดาคาแนล
........ซึ่งปรากฏว่าหลังจากสมรภูมิที่มิดเวย์ การรบทางทะเลแถวหมู่เกาะโซโลมอนและทะเลปะการัง และการรบที่กัวดาคาแนลแล้ว
........ปรากฏว่ากองทัพเรือญี่ปุ่นต้องสูญเสียอย่างหนัก ส่วนกองทัพบกก็ไม่สามารถหากำลังพลและยุทโธปกรณ์ได้เพียงพอ เพื่อปกป้องดินแดนที่ยึดได้ใหม่
........ในที่สุดจึงถูกกองกำลังพันธมิตรที่มีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลียตีโต้กลับไปจนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในที่สุด           
สาเหตุที่ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง
เหตุเพราะเรามีกำลังน้อยเมื่อญี่ปุ่นบุกจึงไม่สามารถต่อต้านได้ และเพื่อป้องกันมิให้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นในด้านเศรษฐกิจและการเมือง

ผลของสงครามต่อไทย คือ

........1.ไทยต้องส่งทหารไปช่วยญี่ปุ่นรบ
........2.ได้ดินแดนเชียงตุง และสี่จังหวัดภาคใต้ที่ต้องเสียแก่อังกฤษกลับมา แต่ต้องคืนให้เจ้าของเมื่อสงครามสงบลง
........3.กิดขบวนการเสรีไทย ซึ่งให้พ้นจากการยึดครอง
........4.ไทยได้รับเกียรติเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

........สงครามในยุโรปสิ้นสุดเมื่อเยอรมนียอมจำนนในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในเอเชียยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน

ผลของสงครามโลกครั้งที่สอง

........1.มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติเพื่อดำเนินงานแทนองค์การสันนิบาตชาติ
........2.เกิดการแบ่งขั้วอย่างชัดเจนของสองมหาอำนาจจนนำไปสู่เกิดสงครามเย็นและการแบ่งกลุ่มประเทศระหว่างโลกเสรีประชาธิปไตยกับโลกคอมมิวนิสต์
........3.เกิดมหาอำนาจของโลกใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต
........4.สภาพเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
........5.สหรัฐฯได้เข้าปกครองญี่ปุ่นเป็นเวลานานถึง 6 ปี

1x42.gif

สงครามโลกครั้งที่ 1








สงครามโลกครั้งที่ 1
1x42.gif


........ในวันที่ 28 มิถุนายน 2457 ขณะที่อาร์ชดุ๊ก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย – ฮังการี
........เสด็จเยือนกรุงซาราเจโว พร้อมด้วยพระชายา ก็ถูกนักชาตินิยมหัวรุนแรงคนหนึ่งยิงปืนใส่จนสิ้นพระชนม์ทั้งคู่
........ออสเตรียเชื่อว่าเซอร์เบียอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์  ออสเตรียประกาศสงครามกับเซอร์เบียในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2457
........หลังจากนั้นประเทศพันธมิตรต่างๆ ของคู่กรณีก็ทยอยประกาศภาวะสงครามต่อกัน ยกเว้นอิตาลี ซึ่งทำสัญญาลับกับกลุ่มความตกลงในไตรภาคี
........แต่ในที่สุดหลังจากสงครามเริ่มขึ้น 9 เดือน อิตาลีได้ประกาศสงคราม โดยมีสาเหตุหลัก 4 ประการ คือ

........1. การแข่งขันทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญคือ การแข่งขันระหว่างอังกฤษกับเยอรมัน
........2. การทะเลาะเบาะแว้งเรื่องอาณานิคม ปลาย ค.ศ. ที่ 19 ยุโรปต่างแข่งขันช่วงชิงอาณานิคมเพื่อจักรวรรดิของตน ซึ่งก่อให้เกิดความแตกร้าวระหว่างชาติขึ้น เช่น อังกฤษกับเยอรมัน เรื่องแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ อังกฤษกับฝรั่งเศส เรื่องลุ่มแม่น้ำไนล์ อังกฤษกับรัสเซีย เรื่องเปอร์เซียและอาฟกานิสถาน เยอรมันกับฝรั่งเศส เรื่องมอร็กโกและแอฟริกาตะวันตก
........3. ระบบภาคีพันธมิตร ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ
................สัญญาไตรภาคี ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย - ฮังการี และอิตาลี
................สัญญาไตรพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย
........4. ความใฝ่ฝันทะเยอทะยานด้วยความรู้สึกทางชาตินิยม

........สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2457 ไทยตั้งตัวเป็นกลาง
........จนกระทั่งวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ไทยจึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี
........สงครามครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ มหาอำนาจไตรภาคี ซึ่งเดิมประกอบด้วย ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร จักรวรรดิรัสเซีย รวมไปถึงประเทศอาณานิคมด้วย
........โดยส่วนใหญ่ รัฐที่เข้าร่วมสงครามในภายหลัง จะเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร โดยชาติมหาอำนาจที่เข้าสู่สงครามด้วย ได้แก่จักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม 1914 อิตาลี เมื่อเดือนเมษายน 1915 และสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายน 1917
........และฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งเดิมประกอบด้วย จักรวรรดิเยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และดินแดนอาณานิคม จักรวรรดิออตโตมานได้เข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อเดือนตุลาคม 1914 และบัลแกเรียในอีกปีให้หลัง
........ระหว่างช่วงสงคราม ประเทศที่วางตัวเป็นกลางในทวีปยุโรปได้แก่เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สเปนและประเทศตามคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แม้ว่าประเทศเหล่านี้อาจจะเคยส่งเสบียงและยุทโธปกรณ์ไปช่วยเหลือบางประเทศที่รบอยู่ก็ตาม

........ใน พ.ศ.2460 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น 2 อย่างคือ

........1. การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัสเซีย ทำให้รัสเซียถอนตัวออกจากสงครามในต้น พ.ศ.2461
........2. สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับเยอรมนี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460 ซึ่งเป็นการช่วยสนับสนุนขวัญและกำลังใจของฝ่ายพันธมิตรเป็นอันมาก
........ในที่สุดเยอรมนีก็ต้องลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 หลังจากนั้นประเทศสัมพันธมิตรก็เตรียมจัดทำสนธิสัญญาสันติภาพกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง
........ แต่ละประเทศได้ลงนามสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่งเป็นการลงนามระหว่างประเทศสัมพันธมิตรกับเยอรมนีในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2462
ก็เป็นอันปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 1

14.การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมโลก




การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมโลก
1x42.gif
........วัฒนธรรมเป้นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นโดยเหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงางด้านวัฒนธรรมของโลก ได้แก่ ระบบฟิวดัสในยุโรป การฟื้นฟูศิลปวิทยาการและการปฏิรูปศาสนา

........1. ระบบฟิวดัส หรือระบบสวามิภักดิ์ เป็นรูปแบบการปกครองของยุโรปในยุคกลาง เนื่องจากอำนาจของกษัตริย์เสื่อมอำนาจลงจึงมีการแย่งชิงอำนาจกันอย่างรุนแรงระหว่างกลุ่มผู้ปกครองในท้องถิ่น โดยราษฎรที่อาศัยอยู่ในแต่ละท้องถิ่นจะต้องพึ่งพาอาศัยขุนนางที่มีอำนาจอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ ส่งผลทำให้ขุนนางเป็นผู้ที่มีอำนาจมาก โดยระบบฟิวดัสเป็นระบบอุปถัมภ์โดยมีที่ดินเป็นสิ่งกำหนดฐานะและลักษณะของความสัมพันธ์ของคนในสังคมซึ่งประกอบด้วย 2 ฝ่าย คือ มูลนายหรือลอร์ด และอีกฝ่ายเป็นข้ารับใช้

ผลกระทบของระบบฟิวดัสต่อพัฒนาการด้านต่างๆของยุโรป

................1. พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครอง ระบบนี้มีการกระจายอำนาจให้ขุนนางไปปกครองในแต่ละท้องถิ่นเป็นการส่งเสริมให้ขุนนางเป็นผู้ที่มีอำนาจในการปกครองเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดความสามัคคีกันของประชาชนในแต่ละท้องถิ่น

................2. พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ ระบบฟิวดัสมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากที่ดินระหว่างมูลนายกับข้ารับใช้เป็นเศรษฐกิจที่เพียงพอต่อการเลี้ยงตนเอง

................3. พัฒนาการทางด้านสังคมวัฒนธรรม ทำให้เกิดชนชั้นที่สำคัญในสังคม 3 ชนชั้น ประกอบด้วย ชนชั้นปกครอง มี กษัตริย์ ขุนนางและอัศวิน ชนชั้นพระ และชนชั้นกลางหรือพวกพ่อค้า

........ความเสื่อมของระบบฟิวดัส เกิดขึ้นในช่วงของคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจของยุโรปมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ประชาชนหันมาติดต่อค้าขายกันมากขึ้นจึงมีการผลิตสินค้าเพื่อส่งขายจำนวนมากสร้างความร่ำรวยให้กับชนชั้นกลางหรือพ่อค้า อาชีพเกษตรกรรมไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ประชาชนส่วนใหญ่หันไปสะสมวัตถุเพื่อสร้างความร่ำรวยและความสุขสบายให้กับตนเองมากขึ้น ทำให้ระบบฟิวดัสในยุโรปสิ้นสุดลง

........2. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14 – 17 โดยเป็นยุคที่ชาวยุโรปมีการฟื้นฟูศิลปวิทยาการต่างๆของกรีกและโรมันกลับมาศึกษาอีกครั้งหนึ่ง เป็นยุคที่ยกย่องเห็นคุณค่าของมนุษย์โดยเน้นมนุษย์นิยมมากขึ้น สนใจในวิชาศิลปศาสตร์เพื่อปลดปล่อยจิตวิญญาณให้เป็นอิสระจากการควบคุมของศาสนจักร


........3. การปฏิรูปศาสนา เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 16 ในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นช่วงของปลายยุคกลางซึ่งถือเป็นยุคมืดที่คริสตจักรมีอิทธิพลปกครองไปทั่วยุโรป การปฏิรูปศาสนาเริ่มโดยมาร์ติน ลูเทอร์ ค.ศ. 1517 ได้มอบข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปศาสนา 95 ข้อแก่ศาสนจักรเพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกแลสะสถาบันสันตะปาปา ผลคือ ลูเทอร์ถูกประกาศให้เป็นคนนอกรีตและต้องหลบซ่อนตัวอยู่เป็นเวลานานและทำให้ตั้งนิกายลูเทอร์รันขึ้นในเยอรมัน