วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

13.การปฏิวัติอุตสาหกรรม






การปฏิวัติอุตสาหกรรม
1x42.gif

การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ด้านเทคนิควิธีและเทคโนโลยีในการผลิตจากเดิมที่ใช้แรงงานคนหรือแรงงานสัตว์มาเป็นกระบวนการผลิตที่ใช้เครื่องจักรกลที่มีความสลับซับซ้อนและให้ผลผลิตได้ในปริมาณมาก
........การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษในราวปีค.ศ. 1760 และได้แพร่หลายไปยังประเทศตะวันตกต่างๆ ตลอดจนภูมิภาคอื่นของโลกในเวลาต่อมา
........การปฏิวัติอุตสาหกรรมจึงนับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่มีผลกระทบต่อการเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของมนุษยชาติทั่วโลก

โดยแบ่งระยะเวลาออกเป็น 2 ช่วงคือ
........1. การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรก เกิดขึ้นระหว่างปีค.ศ. 1760 - 1850 การปฏิวัติอุตสาหกรรม ช่วงแรกเริ่มขึ้นเมื่อมีการประดิษฐ์สิ่งที่ใช้ทดแทนแรงงานคนในอุตสาหกรรมการทอผ้าของอังกฤษ
........การประดิษฐ์ที่สําคัญ เช่น การประดิษฐ์เครื่องทอผ้าแบบกระสวยพุ่งหรือกี่กระตุกของจอห์น เคย์ ชาวอังกฤษ
........การผลิตเครื่องปั่นด้ายชนิดที่สามารถปั่นด้ายได้ครั้งละหลายเส้นของเจมส์ ฮาร์กรีฟส์ ชาวอังกฤษ
........และการผลิตเคร่ื่องแยกเมล็ดฝ้ายออกจากเส้นใยของอีไล วิทนีย์ ชาวอเมริกัน
........นวัตกรรมเหล่านี้ทําให้การปลูกฝ้ายและความต้องการแรงงานไร่ฝ้ายขยายตัวอย่างรวดเร็ว
........การประดิษฐ์ที่มีการพัฒนาควบคู่กับการทอผ้า คือ เครื่องจักรไอน้ำ ซึ่งได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเจมส์ วัตต์ ชาวสก็อตแลนด์ ........พลังไอน้ําได้ถูกนำมาใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรในอุตสาหกรรมทอผ้า  และได้ขยายไปสู่การผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเหมืองแร่หรือเหล็ก
........สิ่งประดิษฐ์อีกประเภทที่มีชื่อเสียงมากในยุคนี้ ได้แก่ หัวรถจักรไอน้ำที่มีชื่อว่า “Rocket” ของจอร์จ สตีเฟนสัน ชาวอังกฤษ​
........หัวรถจักรไอน้ำของสตีเฟนสันนับเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ยุคการใช้รถไฟโดยสาร และทําให้มีการเปิดบริการเส้นทางรถไฟสายแรกของโลกระหว่างเมืองลิเวอร์พูลกับแมนเชสเตอร์ในอังกฤษ

........2. การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2 เป็นยุคที่มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2
........ถ่านหินและเครื่องจักรไอน้ำลดความสำคัญลง และเริ่มถูกแทนที่ด้วยพลังงานใหม่อย่างเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียมและพลังงานไฟฟ้า
........โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลที่ทำด้วยเหล็กกล้าและอุตสาหกรรมเคมี
........ยุคนี้มีนักประดิษฐ์คนสำคัญหลายคน อาทิเช่น เฮนรี เบสเซเมอร์ ชาวอังกฤษผู้ค้นพบวิธีทำเหล็กถลุงให้มีคุณสมบัติดีขึ้นหรือทีี่เรียกว่าเหล็กกล้า
........และซิดนีย์ กิลไครสต์ โทมัส ชาวอังกฤษผู้​ค้นพบวิธีกำจัดฟอสฟอรัสออกจากน้ำเหล็ก ที่ได้จากกรรมวิธีเบสเซเมอร์
........เหล็กกล้าจึงเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมและการก่อสร้างหลากหลายประเภท ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
........ได้มีการประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินขึ้น โดยคาร์ล เบนซ์และกอตต์ลีบ เดมเลอร์ ชาวเยอรมัน
........สามารถนำเครื่องยนต์เบนซินมาใช้กับรถยนต์เป็นผลสำเร็จ

........นอกจากนี้ยังมีอเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ ชาวสก็อตแลนด์ผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์
........และโทมัส อัลวา เอดิสัน ชาวอเมริกันที่ได้ทำการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ดั้งเดิมตั้งแต่โทรศัพท์ เครื่องส่งโทรเลข เครื่องขยายเสียงไปจนถึงหลอดไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

........กระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรกและระยะที่ 2 นั้นไม่อาจที่จะแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด
........เพราะวิวัฒนาการของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทั้งสองช่วง มีความเชื่อมโยงกัน
การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 1 และ 2 นั้น ยังถือเป็นยุคก่อกำเนิดพัฒนาการของความรู้ต่างๆ ของโลกปัจจุบัน ตลอดจนวางโครงสร้างของระบบโลกในทางเศรษฐกิจ
การเมืองและสังคมอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

1x42.gif

12.การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์



การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
1x42.gif
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์   คือ การพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของโลกตะวันตกที่เกิดขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 - 18
........ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่มีการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติของโลกและจักรวาล และมีการค้นคว้าทดลองทฤษฎีต่างๆทางวิทยาศาสตร์มากมาย
........สำหรับปัจจัยที่นำไปสู่การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์นั้นมีหลายประการ ตั้งแต่การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ อันเป็นเหตุให้มนุษย์หลุดพ้นจากอิทธิพลการครอบงำของคริสตจักร และมีอิสระทางความคิดมากขึ้น ประกอบกับที่มีการประดิษฐ์คิดค้นวิธีการพิมพ์หนังสือ
........ทำให้สามารถพิมพ์ตำราเผยแพร่ความรู้ทางศาสตร์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ นำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการค้นคว้าและวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ

........นอกเหนือจากนี้ การสำรวจทางทะเลและการค้นพบดินแดนใหม่ในโลกตะวันออกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา
........ก็เอื้อให้ชาวตะวันตก มีโอกาสติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้กับคนต่างชาติ ต่างวัฒนธรรม และทำให้อารยธรรมความรู้จากชาติต่างๆ อาทิ จีน อินเดีย อาหรับและเปอร์เชียเผยแพร่เข้ามาในสังคมตะวันตกมากขึ้น
........ซึ่งส่งผลให้องค์ความรู้ขยายขอบเขตกว้างขวางออกไป สิ่งสำคัญที่เป็นหัวใจของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ก็คือกระบวนการค้นหาความจริงอย่างเป็นขั้นตอน
........อันนำไปสู่ผลสรุปที่สามารถอธิบายได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ยุคการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์จึงได้ชื่อว่า  “ยุคแห่งภูมิธรรม”

........หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรปผู้ทรงอิทธิพลที่จุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ และมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ กาลิเลโอ กาลิเลอี ชาวอิตาเลียน
........แนวคิดล้ำยุคผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งโลกวิทยาศาสตร์  กาลิเลโอเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีความเฉื่อยและการตกของวัตถุ
........อีกทั้งยังเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องดูดาวแบบหักเหแสงได้เป็นคนแรก

........การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับดวงดาวและจักรวาลของกาลิเลโอ ช่วยยืนยันทฤษฎีเกี่ยวกับสุริยะจักรวาล ที่มีมาก่อนหน้านี้ของนิโคลัส โคเปอร์นิคัส นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ ที่กล่าวว่าโลกเป็นเพียงดาวดวงหนึ่งในระบบสุริยะจักรวาลที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางว่าถูกต้อง

........นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งก็คือ ไอแซค นิวตัน ชาวอังกฤษ ผู้ค้นพบข้อเท็จจริงที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์หลายสิ่ง จนได้รับสมญานามว่าบิดาของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ทฤษฎีหลักสองทฤษฎีที่นิวตันค้นพบในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 คือ
........กฎแรงโน้มถ่วงสากลและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน นิวตันได้แสดงให้เห็นว่า
การเคลื่อนที่ของวัตถุบนโลกและวัตถุบนท้องฟ้าล้วนอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติชนิดเดียวกัน
........โดยแสดงให้เห็นความสอดคล้องระหว่างทฤษฎีการโคจรของดาวเคราะห์ของโจฮันเนส  เคปเลอร์ ชาวเยอรมัน กับทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของตน
........ผลจากการค้นพบทฤษฎีทั้งสองช่วยยืนยันแนวคิดที่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล และทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่า
........เพราะเหตุใดโลกและดาวเคราะห์จึงหมุนรอบดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์จึงหมุนรอบโลกได้โดยไม่หลุดจากวงโคจร
........รวมไปถึงอธิบายสาเหตุที่ทำให้วัตถุต่างๆ ตกจากที่สูงลงสู่พื้นดินโดยไม่หลุดลอยไปในอวกาศ ซึ่งช่วยให้การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง
........การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ยังผลให้ผู้คนในชาติตะวันตกเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง และสามารถนำความรู้และทฤษฎีใหม่ๆ
........มาใช้พัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว วิทยาศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
........ทั้งในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม และเป็นสาเหตุผลักดันให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 18
........ซึ่งทำให้หลายประเทศในยุโรปพัฒนานวัตกรรมด้านการผลิตจนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกในเวลาต่อมา

1x42.gif

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

11.ยุคแห่งการสำรวจและการค้นพบ


ยุคแห่งการสำรวจและการค้นพบ
เป็นส่วนหนึ่งของลัทธิจักรวรรดินิยมยุคเก่า

ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ชาวยุโรปออกเดินทางจากทวีปของตนไปสำรวจทางทะเลโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อแสวงหาคู่ค้าขายใหม่ รวมไปถึงสินค้าและทรัพยากรหายากภายในดินแดนต่างๆของโลกใหม่ที่ถูกค้นพบ ในระยะที่ยุโรปฟื้นตัวภายหลังสงครามครูเสด
ชาวอิตาเลียนได้ใช้นครเวนิสซึ่งเป็นสถานีการค้าเก่าแก่ทั้งก่อนและระหว่างสงครามติดต่อกับโลกภายนอกก่อนชาติใดในยุโรป ชาวเวนิสที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในฐานะนักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ เห็นจะไม่มีใครเกินมาร์โค โปโล ผู้ใช้เส้นทางบกจากยุโรปไปถึงนครปักกิ่งในประเทศจีนเมื่อปีค.ศ. 1271 และใช้ชีวิตในเมืองจีนนานกว่า 15 ปีก่อนจะเดินทางกลับอิตาลีทางเรือ
แม้ว่ามาร์โค โปโลจะไม่ใช่ชาวตะวันตกคนแรกที่เดินทางไปถึงเมืองจีน แต่ก็เป็นคนแรกที่ได้เขียนบันทึกการเดินทางอธิบายถึงเมืองจีนอย่างละเอียด และยังเป็นคนแรกที่กล่าวถึงแผ่นดินชวา สุมาตรา พม่าและสยามอีกด้วย

เรื่องที่มาร์โค โปโลเขียนไว้ได้ปลุกกระแสแห่งการเดินทางและสำรวจโลกใหม่ของชาวยุโรปในสมัยหลังๆเป็นอย่างมาก
ดังนั้นจึงไม่ผิดที่จะกล่าวว่าเขาคือคนแรกที่เปิดเส้นทางการค้าและวัฒนธรรมระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตก
การสำรวจและการเดินทางของชาวยุโรปภายหลังการค้นพบของมาร์โค โปโลชะงักลงจวบจนล่วงเข้าคริสต์ศตวรรษที่ 15
จึงเกิดการรวมศูนย์กลางทางการเมืองครั้งใหม่ในยุโรปใต้ โดยเฉพาะบนคาบสมุทรไอบีเรียซึ่งมีสเปนและโปรตุเกสตั้งอยู่

ยุคแห่งการสำรวจและการค้นพบที่เริ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15
ไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ประจวบกับช่วงที่ชาวยุโรปตะวันตก เริ่มมีความรู้ในการใช้เข็มทิศและแผนที่
ประกอบกับมีพัฒนาการเดินเรือแบบใหม่ วิทยาการที่ก้าวหน้าเหล่านี้ช่วยกระตุ้นให้ชาติตะวันตกแสวงหาเส้นทางการค้าขายใหม่และหลั่งไหลสู่โลกตะวันออกมากขึ้น
คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถือเป็นช่วงการแข่งขันอำนาจทางทะเลระหว่างโปรตุเกสและสเปน ซึ่งเป็นสองชาติตะวันตกหลักที่มีบทบาทในการสำรวจทางทะเลยุคนี้
โดยบาร์โธโลมิว ไดแอสสามารถเดินเรือผ่านแหลมกู้ดโฮปได้สำเร็จในปีค.ศ. 1488
เส้นทางสำรวจของไดแอสได้ปูทางให้วาสโก ดา กามาสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการตามรอย จนสามารถค้นพบเส้นทางการเดินเรือจากยุโรปสู่อินเดียได้ในเวลาหนึ่งทศวรรษต่อมา
ส่วนทางฝั่งกษัตริย์สเปน ก็ได้สนับสนุนให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักสำรวจชาวอิตาลี ผู้เชื่อว่าโลกกลมออกเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในปี ค.ศ.1492
จนกระทั่งค้นพบหมู่เกาะเวสต์อินดีสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทวีปอเมริกาใต้โดยบังเอิญ นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนให้เฟอร์ดินานด์ แมกเจลลัน นักเดินเรือชาวโปรตุเกสเดินทางผ่านช่องแคบที่ตั้งชื่อภายหลังว่า “แมกเจลลัน” ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ และข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกมาทางทวีปเอเชีย
........แม้ว่าแมกเจลลัน จะถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตายที่เกาะฟิลิปปินส์  แต่ลูกเรือของเขาสามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรอินเดีย กลับไปยังสเปนได้สำเร็จในปีค.ศ. 1522 ซึ่งนับว่าเป็นการเดินเรือรอบโลกสำเร็จครั้งแรกในประวัติศาสตร์
........การแข่งขันอำนาจทางทะเลระหว่างโปรตุเกสกับสเปนยุติลงเมื่อโปรตุเกสตกอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนในช่วงค.ศ. 1580 - 1640
........นอกจากโปรตุเกสและสเปนแล้ว เนเธอร์แลนด์และอังกฤษก็เป็นชาติตะวันตกที่มีบทบาทสำคัญในยุคการสำรวจทางทะเลนี้
........โดยเรือของเนเธอร์แลนด์ได้ค้นพบทวีปออสเตรเลียเป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1605 และเรียกทวีปนี้ว่า “นิวฮอลแลนด์” จนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18
........อังกฤษได้ครอบครองและเรียกทวีปนี้ใหม่ว่า “ออสเตรเลีย” นอกจากนี้อังกฤษยังสามารถสลายอำนาจทางทะเลของโปรตุเกส และเข้าไปมีอำนาจครอบครองอินเดียและอเมริกาเหนืออีกด้วย

10.การแบ่งยุคประวัติศาสตร์ไทย


การแบ่งยุคประวัติศาสตร์ไทย
1x42.gif
การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ เป็นการแบ่งช่วงเวลา โดยกำหนดให้เชื่อมโยงกับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์
โดยประวัติศาสตร์ไทยมีการแบ่งยุคสมัยคล้ายกับประวัติศาสตร์สากล คือ แบ่งออกเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ และในแต่ละสมัยก็ได้ถูกแบ่งเป็นยุคสมัยย่อยๆลงไปอีกเพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนี้
........1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นสมัยที่ยังไม่ปรากฏลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้ในการสื่อสาร ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ยุคนั้นจึงต้องอาศัยหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้และร่องรอยต่างๆที่เหลือทิ้งไว้ สมัยก่อนประวัติศาสตร์นิยมแบ่งช่วงเวลาออกเป็นยุคหินกับยุคโลหะ

................1.1 ยุคหิน คือ ยุคที่มนุษย์รู้จักนำหินมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ แบ่งย่อยออกเป็นยุคต่างๆตามลักษณะของเครื่องมือหิน ได้แก่
........................1.1.1 ยุคหินเก่า มีอายุประมาณ 500,000 - 10,000 ปีมาแล้ว ตัวอย่างแหล่งชุมชนมนุษย์ยุคหินเก่าในดินแดนไทย เช่น ถ้ำพระ จังหวัดกาญจนบุรี บ้านแม่ทะ จังหวัดลำปาง เป็นต้น
........................1.1.2 ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 - 6,000 ปีมาแล้ว ตัวอย่างแหล่งมนุษย์ยุคหินกลางในดินแดนไทย เช่น ถ้ำไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
........................1.1.3 ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 6,000 - 4,000 ปีมาแล้ว ตัวอย่างแหล่งมนุษย์ยุคหินใหม่ในดินแดนไทย เช่น บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น

................1.2 ยุคโลหะ คือ ยุคที่มนุษย์รู้จักนำโลหะมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ แบ่งตามชนิดของวัสดุเป็น 2 ยุค ได้แก่
........................1.2.1 ยุคสำริด มีอายุประมาณ 4,000 - 2,500 ปีมาแล้ว ตัวอย่างแหล่งมนุษย์ยุคสำริดในดินแดนไทย เช่น บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
........................1.2.2 ยุคเหล็ก มีอายุประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว ตัวอย่างแหล่งมนุษย์ยุคเหล็กในดินแดนไทย เช่น บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี บ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น

........2. สมัยประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์เป็นสมัยที่ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่ใช้ในการสื่อสาร การแบ่งช่วงสมัยประวัติศาสตร์ไทยโดยละเอียดมีดังนี้

................2.1 สมัยก่อนการตั้งอาณาจักรสุโขทัย เช่น อาณาจักรละโว้ (พุทธศตวรรษที่ 12 - 18) อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11 - 16) เป็นต้น
................2.2 สมัยสุโขทัย เริ่มตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์สมบัติและสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีเมื่อพ.ศ. 1781 สมัยสุโขทัยเป็นช่วงที่มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยหลายประการ แต่ที่โดดเด่นที่สุดก็คือ กำเนิดลายสือไทยหรือตัวหนังสือไทยที่ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
................2.3 สมัยอยุธยา อาณาจักรอยุธยาเป็นราชธานีที่ยาวนานที่สุดถึง 417 ปีตั้งแต่พ.ศ. 1893 - 2310
................2.4 สมัยธนบุรี อาณาจักรธนบุรีมีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในระยะเวลาเพียง 15 ปีตั้งแต่พ.ศ. 2310 - 2325  
................2.5 สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน  ซึ่งสามารถแบ่งเป็นสมัยย่อยได้ ดังนี้
........................2.5.1 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 ถือเป็นช่วงการฟื้นฟูอาณาจักรในทุกด้านต่อจากสมัยธนบุรี
........................2.5.2 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ยุคปรับปรุงประเทศ อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นช่วงที่มีการติดต่อกับต่างชาติและปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก ไปจนถึงเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
........................2.5.3 สมัยประชาธิปไตย นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุดในการปกครองประเทศเมื่อปีพ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน

1x42.gif

9.การแบ่งยุคประวัติศาสตร์ของอินเดีย


การแบ่งยุคประวัติศาสตร์ของอินเดีย
1x42.gif

การแบ่งยุคประวัติศาสตร์ของอินเดียมีการแบ่งเป็นยุคสมัยย่อยตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ ที่มีอิทธิพลเหนืออินเดียขณะนั้น
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยมีพวกดราวิเดียน เมื่อ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนกระทั่งอารยธรรมแห่งนี้ล่มสลายลงเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช
เมื่อชนชาวอารยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และก่อตั้งอาณาจักรหลายอาณาจักรในภาคเหนือของอินเดีย นับว่าเป็นช่วงเวลาที่การเริ่มสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดียที่แท้จริง
มีการก่อตั้งศาสนาต่าง ๆ เรียกว่า สมัยพระเวท (1,500 – 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช) สมัยมหากาพย์ (900 – 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
ต่อมาอินเดียรวมตัวกันในสมัยราชวงศ์มคธ (600 – 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และมีการรวมตัวอย่างแท้จริง ในสมัยราชวงศ์เมารยะ (321 - 184 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ระยะเวลานี้เป็นเวลาที่อินเดีย เปิดเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ
ต่อมาราชวงศ์เมารยะล่มสลาย อินเดียก็เข้าสู่สมัยแห่งการแตกแยก และการรุกรานจากภายนอก จากพวกกรีกและพวกกุษาณะ ระยะเวลานี้เป็นสมัยการผสมผสานทางวัฒนธรรม ก่อนที่จะรวมเป็นจักรวรรดิได้อีกครั้งใน ค.ศ. 320 โดยราชวงศ์คุปตะ (สมัยคุปตะ ค.ศ. 320 – ค.ศ. 535)

ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง
.......อินเดียเข้าสู่สมัยกลาง ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1525 สมัยนี้เป็นช่วงเวลาของความวุ่นวายทางการเมือง และการรุกรานจากต่างชาติ โดยพาะชาวมุสลิม สมัยกลางจึงเป็นสมัยที่อารยธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอินเดีย
.......อินเดียสมัยใหม่ภายใต้จักรวรรดิโมกุล ค.ศ. 1526-ค.ศ.1858 เป็นจักรวรรดิที่ปกครองโดยชาวมุสลิม มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพระเจ้าอักบาร์มหาราช มีความสามารถในด้านการรบ

สมัยประวัติศาสตร์
.......มีการใช้ตัวอักษรโบราณที่เรียกว่า “บรามิลิป” ประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช
.......พวกอินโด-อารยัน ได้ปกครองพวกดราวิเดียนที่เป็นชาวพื้นเมืองเดิม สร้างอารยธรรมต่างๆ

อารยธรรมพระเวท
ชนเผ่าอารยัน เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินอินเดียมาก่อนหรือหลังอารยธรรมสินธุ ยังเป็นประเด็นโต้แย้งกันอยู่ แม้ในปัจจุบันนี้
แนวความคิดที่ยึดถือโดยคนส่วนใหญ่เชื่อว่า ชนเผ่าอารยันเข้ามาสู่อินเดียหลังจากความเจริญสูงสุดของอารยธรรมสินธุผ่านไปแล้ว
และชาวอารยัน ได้สร้างอารยธรรมของตนเองขึ้นมาในรูปแบบและเนื้อหาที่แตกต่างไปจากอารยธรรมสินธุเดิม แต่ก็ยังมีบางแนวคิดที่เชื่อว่า ชนเผ่าอารยันอยู่บนแผ่นดินอินเดียมานานแล้ว แต่ไม่ได้มีบทบาทในการสร้างวัฒนธรรมที่เป็นกระแสหลักของสังคม
จวบจนเมื่ออารยธรรมสินธุเสื่อมลง จึงทำให้วัฒนธรรมของพวกอารยันกลายมาเป็นวัฒนธรรมกระแสหลัก และพัฒนามาเป็นอารยธรรมในเวลาต่อมา

คัมภีร์พระเวท คือ หลักฐานทางจินตนาการที่แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของพวกอารยัน จินตนาการอันงดงามและทรงพลังของชาวอารยัน ได้ถูกสร้างสรรค์ ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนปรากฏเป็นรูปคัมภีร์ที่รู้จักกันในชื่อ "ไตรเวท" (คัมภีร์พระเวททั้ง 3 ) ได้แก่
.......1. ฤคเวท
.......2. ยชุรเวท
.......3. สามเวท
(พระเวทที่ 4 คือ อถรวเวท หรือ อาถรรพเวท เกิดขึ้นในภายหลัง)

คัมภีร์พระเวทนี้ ได้กลายมาเป็นรากฐานของอารยธรรมอินเดียในเวลาต่อมา และสืบทอดกันมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
ด้วยรากฐานคือคัมภีร์พระเวทนี้เอง ที่เป็นฐานให้เกิดคัมภีร์อื่นคือ คัมภีร์พราหมณ, คัมภีร์อุปนิษัท, ตลอดทั้งมหากาพย์และวรรณกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ที่กลายมาเป็นจินตนาการอันทรงพลังให้กับความเจริญรุ่งเรืองของสังคมอินเดียในเวลาต่อมา
.......จินตนาการอันงดงามและทรงพลังของชาวอารยัน ได้กลายมาเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตและกฎระเบียบทางสังคม ในแง่ของสังคม ได้เกิดระบบวรรณะที่ทรงพลัง จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของสังคมอินเดีย วรรณะทั้ง 4 คือ
.......1. พราหมณ์
.......2. กษัตริย์
.......3. แพศย์
.......4. ศูทร

1x42.gif

8.การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของจีน

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของจีน
1x42.gif

........อารยธรรมของจีนเริ่มปรากฏในบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลือง ประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช แบ่งยุคดังนี้

1.ก่อนประวัติศาสตร์
........1. วัฒนธรรมหยางเชา ที่บริเวณมณฑลเหอหนานและบริเวณมณฑลเกียงทาง พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีสีแดง ดำรงชีพด้วยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์
........2. วัฒนธรรมลุงซาน มณฑลชานตุง พบเครื่องปั้นดินเผาสีดำขัดมัน เป็นเงา เนื้อบางละเอียดกว่าเครื่องปั้นสีแดง

2.สมัยประวัติศาสตร์
........สมัยราชวงศ์ซาง , อินซาง
........เดิมชื่อราชวงศ์ซาง ต่อมามีการย้ายเมืองหลวงถึง 5 ครั้ง ครั้งสุดท้ายอยู่ที่เมืองเมืองอิน จึงเปลี่ยนชื่อเป็นราชวงศ์อิน บางคนก็เรียกราชวงศ์อินซาง จัดเป็นยุคที่ไสยศาสตร์เฟื่องฟู นิยมการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่ากันมาก ตัวอักษรจีนเริ่มต้นพัฒนามาจากราชวงศ์นี้ เรียกว่า ตัวอักษรเจี๋ยกู่เหวิน (อักษรกระดูก) โจ้ว ที่เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซาง ซึ่งในประวัติศาสตร์ประณามไว้ว่า เป็นคนโหดร้ายทารุณมาก นิยมการสงคราม และหลงใหลในอิสตรี โดยเฉพาะสนมเอกชื่อ ต๋าจี หรือขันกี ซึ่งเป็นคนวิปริตผิดมนุษย์ คอยยุยงให้โจ้วฆ่าคนเป็นผักปลา สร้างสระเหล้าดงเนื้อขึ้น (เอาน้ำเหล้ามาใส่ในสระ แล้วเอาเนื้อสัตว์มาห้อยไว้ตามต้นไม้)

มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
........การปกครอง แบบนครรัฐ กษัตริย์เป็นผู้นำ
........สังคม ประชาชนมีความเป็นอยู่เรียบง่าย อาศัยในกระท่อมสร้างจากดินเหนียว
........สภาพเศรษฐกิจ ประชาชนมีอาชีพเกษตรเป็นหลัก ใช้เปลือกหอยเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน
........ภาษา มีอักษรใช้แล้ว

........จีนสมัยสามก๊กและยุคมืดมน เป็นช่วงที่ประชากรจีนเพิ่มมากขึ้น เป็นชาวจีนที่เกิดจากการผสมทางสายเลือด ได้รับวัฒนธรรมจากชาวฮั่น พุทธศาสนามีการปกครองจีนหลายราชวงศ์ ราชวงศ์ถัง ยุคของความเจริญในทุกด้าน ราชวงศ์ซ้อง มีความเจริญด้านการเดินเรือ ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

........สมัยสาธารณรัฐและสมัยสาธารณรัฐประชาชนจีน ความเสื่อมของราชวงศ์แมนจูที่เปิดโอกาสให้ชาติตะวันตกเข้ามามีอำนาจเหนือดินแดนจีน เกิดขบวนการปฏิวัติเพื่อโค่นล้มราชวงศ์แมนจูจากกลุ่มปัญญาชนที่ไปศึกษาต่างประเทศ ผู้นำขบวนการปฏิวัติ คือ ดร.ซุน ยัดเซ็น เป็นการสิ้นสุดจักรพรรดิของจีน ใน พ.ศ. 1921 พรรคคอมมิวนิสต์ของจีนได้ก่อตั้งขึ้น เนื่องจากปัญญาชนของจีนหันไปหาแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหา ได้ต่อสู้กับรัฐบาลจีนจนได้รับชัยชนะ แล้วนำแนวทางสังคมนิยมมาใช้ในประเทศจีน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 โดยการนำของเหม๋า เจ๋อ ตุง และจีนมีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ถึงปัจจุบัน

1x42.gif

7.อารยะธรรมตะวันตก


อารยะธรรมตะวันตก
1x42.gif

อารยธรรมตะวันตก แบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ
  1. ยุคโบราณ
  2. ยุคกลาง
  3. ยุคฟื้นฟูวัฒนธรรม
  4. ยุคใหม่


ยุคโบราณ
.......1. อารยธรรมตะวันตกในยุคโบราณเป็นอารยธรรมในลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรตีส
.......เริ่มตั้งแต่เมื่อชนชาวสุเมเรียนประดิษฐ์ตัวอักษรรูปลิ่ม หรือตัวอักษรคูนิฟอร์ม ขึ้นใช้เมื่อประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตร์ศักราช และสิ้นสุดลงเมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลาย เพราะถูกรุกรานโดยพวกอนารยชนเผ่าเยอรมัน
.......สุเมเรียน เป็นชนกลุ่มแรกที่เข้ามาสร้างอารยธรรมในดินแดนนี้
..............ได้จัดตั้งอาณาจักรบาบิโลเนีย ผลงานสำคัญได้แก่ ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี
..............อัสซีเรียเป็นนักรบที่กล้าหาญ ผลงานที่สำคัญ ได้แก่ การสลักภาพนูนต่ำ มีการรวบรวมที่ห้องสมุดนิเนเวห์
..............ชาวคาลเดียมีความรู้ด้านดาราศาสตร์ นำความรู้ดาราศาสตร์มาทำนายชะตาชีวิต

.......2. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ หรืออารยธรรมอียิปต์โบราณ
.......การประดิษฐ์อักษรภาพที่เรียกว่า “เฮียโรกลิฟิก”   ด้านสถาปัตยกรรม มีการสร้าง พีระมิด เป็นสุสานฝังพระศพของ ฟาโรห์ รู้จักการเก็บรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยที่เรียกว่า “มัมมี่”  

.......3. อารยธรรมกรีก อารยธรรมกรีกเรียกว่า เป็นอารยธรรมในยุคคลาสสิก
..............งานประติมากรรม เน้นแสดงสัดส่วนสรีระของมนุษย์
..............วรรณคดี เป็นความเชื่อในเรื่องของศาสนา การเคารพบูขาเทพเจ้า

.......4. อารยธรรมโรมัน
.......มีชาวโรมันกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า“ลาติน ”ได้สร้างกรุงโรมขึ้นและทำสงครามขับไล่ชนพื้นเมืองชาวอีทรัสกัน ออกไปได้สำเร็จ โดยความเจริญทางอารยธรรม
..............ชาวโรมันเน้นให้มนุษย์รับผิดชอบต่อรัฐ
..............กฎหมายสิบสองโต๊ะ
..............สถาปัตยกรรม สร้างอาคารต่างๆ เพื่อประโยชน์ใช้สอยของสาธารณชน
..............ประติมากรรม สะท้อนบุคลิกภาพมนุษย์สมจริงตามธรรมชาติ



ยุคกลาง
.......1. การเมือง การปกครอง เป็นยุคมืด ปกครองระบบฟิวดัลหรือศักดินาสวามิภักดิ์ เป็นยุคแห่งความแตกแยกทางสังคม
.......2. ศิลปวัฒนธรรม ได้รับอิทธิพลจากหลักคำสอนศาสนาคริสต์
.......3. การศึกษา มีการตั้งมหาวิทยาลัยโบโลญญ่าในอิตาลี
.......4. วรรณกรรม เป็นประเภทเพ้อฝัน

ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการในยุโรป
.......1. ยุคของมนุษย์นิยมที่เน้นความงดงามสรีระร่างกาย
.......2. สนใจด้านความเป็นอยู่ในปัจจุบันมากกว่าในภพหน้า
.......3. มีบทบาทของชนชั้นกลางมากขึ้น

ยุโรปสมัยใหม่

.......ให้ความสำคัญด้านวัตถุเพื่อสร้างความมั่นคงให้ตนเอง การค้าขายมีลักษณะดังนี้
.......1. สำรวจและค้นพบดินแดนใหม่ ค้นพบทวีปอเมริกา เป็นจุดเริ่มต้น
.......2. ปฏิวัติวิทยาศาสตร์
.......3. เกิดของยุคภูมิธรรม เป็นยุคที่ประชาชนเรียกร้องความเท่าเทียมกัน
.......4. ปฏิวัติอุตสาหกรรม หันมาใช้เครื่องจักรกล
.......5. การล่าอาณานิคม เสาะแสวงหาแหล่งวัตถุดิบเพื่อมาผลิตสินค้า

1x42.gif