วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

16.สงครามโลกครั้งที่ 2




สงครามโลกครั้งที่ 2
1x42.gif

........1 กันยายน พ.ศ. 2482(ค.ศ. 1939) - 2 กันยายน พ.ศ. 2488  (ค.ศ. 1945)

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2

........1.ความไม่ยุติธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมนีต้องรับผลจากการสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างรุนแรง
........2.ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการ
........3.ลัทธิชาตินิยมในประเทศเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น
........4.ลัทธินิยมทางทหาร
........5.นโยบายต่างประเทศที่ไม่แน่นอนของอังกฤษ
........6.ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ
........7.บทบาทของสหรัฐอเมริกา
........8.สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก

........โดยชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อกองทัพเยอรมนีบุกโปแลนด์เมื่อ 1 กันยายน 1939
........เนื่องจากโปแลนด์ปฏิเสธที่จะยกเมืองท่า ดานซิก และฉนวนโปแลนด์ในเยอรมนี อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งมีสัญญาค้ำประกันเอกราชของโปแลนด์
........อังกฤษและฝรั่งเศส จึงยื่นคำขาดได้เยอรมันถอนทหารออกจากโปแลนด์ เมื่อฮิตเลอร์ไม่ปฏิบัติตาม
........ทั้งสองประเทศจึงประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อเริ่มสงครามนั้น ประเทศคู่สงครามแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ

........ฝ่ายอักษะ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่น

........ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย

มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆดังนี้

........วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) เยอรมันรุกรานโปแลนด์,
........วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ญี่ปุ่นรุกรานจีน (วันเริ่มต้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2)
........ในปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ญี่ปุ่นรุกแมนจูเรีย
........สมรภูมิในแปซิฟิคและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือหลักของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์
........และการบุกยึดประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทยในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941
........ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้บุกไปถึงพม่า นิวกินี และ เกาะกัวดาคาแนล
........ซึ่งปรากฏว่าหลังจากสมรภูมิที่มิดเวย์ การรบทางทะเลแถวหมู่เกาะโซโลมอนและทะเลปะการัง และการรบที่กัวดาคาแนลแล้ว
........ปรากฏว่ากองทัพเรือญี่ปุ่นต้องสูญเสียอย่างหนัก ส่วนกองทัพบกก็ไม่สามารถหากำลังพลและยุทโธปกรณ์ได้เพียงพอ เพื่อปกป้องดินแดนที่ยึดได้ใหม่
........ในที่สุดจึงถูกกองกำลังพันธมิตรที่มีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลียตีโต้กลับไปจนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในที่สุด           
สาเหตุที่ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง
เหตุเพราะเรามีกำลังน้อยเมื่อญี่ปุ่นบุกจึงไม่สามารถต่อต้านได้ และเพื่อป้องกันมิให้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นในด้านเศรษฐกิจและการเมือง

ผลของสงครามต่อไทย คือ

........1.ไทยต้องส่งทหารไปช่วยญี่ปุ่นรบ
........2.ได้ดินแดนเชียงตุง และสี่จังหวัดภาคใต้ที่ต้องเสียแก่อังกฤษกลับมา แต่ต้องคืนให้เจ้าของเมื่อสงครามสงบลง
........3.กิดขบวนการเสรีไทย ซึ่งให้พ้นจากการยึดครอง
........4.ไทยได้รับเกียรติเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

........สงครามในยุโรปสิ้นสุดเมื่อเยอรมนียอมจำนนในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในเอเชียยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน

ผลของสงครามโลกครั้งที่สอง

........1.มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติเพื่อดำเนินงานแทนองค์การสันนิบาตชาติ
........2.เกิดการแบ่งขั้วอย่างชัดเจนของสองมหาอำนาจจนนำไปสู่เกิดสงครามเย็นและการแบ่งกลุ่มประเทศระหว่างโลกเสรีประชาธิปไตยกับโลกคอมมิวนิสต์
........3.เกิดมหาอำนาจของโลกใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต
........4.สภาพเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
........5.สหรัฐฯได้เข้าปกครองญี่ปุ่นเป็นเวลานานถึง 6 ปี

1x42.gif

สงครามโลกครั้งที่ 1








สงครามโลกครั้งที่ 1
1x42.gif


........ในวันที่ 28 มิถุนายน 2457 ขณะที่อาร์ชดุ๊ก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย – ฮังการี
........เสด็จเยือนกรุงซาราเจโว พร้อมด้วยพระชายา ก็ถูกนักชาตินิยมหัวรุนแรงคนหนึ่งยิงปืนใส่จนสิ้นพระชนม์ทั้งคู่
........ออสเตรียเชื่อว่าเซอร์เบียอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์  ออสเตรียประกาศสงครามกับเซอร์เบียในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2457
........หลังจากนั้นประเทศพันธมิตรต่างๆ ของคู่กรณีก็ทยอยประกาศภาวะสงครามต่อกัน ยกเว้นอิตาลี ซึ่งทำสัญญาลับกับกลุ่มความตกลงในไตรภาคี
........แต่ในที่สุดหลังจากสงครามเริ่มขึ้น 9 เดือน อิตาลีได้ประกาศสงคราม โดยมีสาเหตุหลัก 4 ประการ คือ

........1. การแข่งขันทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญคือ การแข่งขันระหว่างอังกฤษกับเยอรมัน
........2. การทะเลาะเบาะแว้งเรื่องอาณานิคม ปลาย ค.ศ. ที่ 19 ยุโรปต่างแข่งขันช่วงชิงอาณานิคมเพื่อจักรวรรดิของตน ซึ่งก่อให้เกิดความแตกร้าวระหว่างชาติขึ้น เช่น อังกฤษกับเยอรมัน เรื่องแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ อังกฤษกับฝรั่งเศส เรื่องลุ่มแม่น้ำไนล์ อังกฤษกับรัสเซีย เรื่องเปอร์เซียและอาฟกานิสถาน เยอรมันกับฝรั่งเศส เรื่องมอร็กโกและแอฟริกาตะวันตก
........3. ระบบภาคีพันธมิตร ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ
................สัญญาไตรภาคี ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย - ฮังการี และอิตาลี
................สัญญาไตรพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย
........4. ความใฝ่ฝันทะเยอทะยานด้วยความรู้สึกทางชาตินิยม

........สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2457 ไทยตั้งตัวเป็นกลาง
........จนกระทั่งวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ไทยจึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี
........สงครามครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ มหาอำนาจไตรภาคี ซึ่งเดิมประกอบด้วย ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร จักรวรรดิรัสเซีย รวมไปถึงประเทศอาณานิคมด้วย
........โดยส่วนใหญ่ รัฐที่เข้าร่วมสงครามในภายหลัง จะเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร โดยชาติมหาอำนาจที่เข้าสู่สงครามด้วย ได้แก่จักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม 1914 อิตาลี เมื่อเดือนเมษายน 1915 และสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายน 1917
........และฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งเดิมประกอบด้วย จักรวรรดิเยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และดินแดนอาณานิคม จักรวรรดิออตโตมานได้เข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อเดือนตุลาคม 1914 และบัลแกเรียในอีกปีให้หลัง
........ระหว่างช่วงสงคราม ประเทศที่วางตัวเป็นกลางในทวีปยุโรปได้แก่เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สเปนและประเทศตามคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แม้ว่าประเทศเหล่านี้อาจจะเคยส่งเสบียงและยุทโธปกรณ์ไปช่วยเหลือบางประเทศที่รบอยู่ก็ตาม

........ใน พ.ศ.2460 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น 2 อย่างคือ

........1. การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัสเซีย ทำให้รัสเซียถอนตัวออกจากสงครามในต้น พ.ศ.2461
........2. สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับเยอรมนี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460 ซึ่งเป็นการช่วยสนับสนุนขวัญและกำลังใจของฝ่ายพันธมิตรเป็นอันมาก
........ในที่สุดเยอรมนีก็ต้องลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 หลังจากนั้นประเทศสัมพันธมิตรก็เตรียมจัดทำสนธิสัญญาสันติภาพกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง
........ แต่ละประเทศได้ลงนามสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่งเป็นการลงนามระหว่างประเทศสัมพันธมิตรกับเยอรมนีในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2462
ก็เป็นอันปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 1

14.การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมโลก




การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมโลก
1x42.gif
........วัฒนธรรมเป้นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นโดยเหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงางด้านวัฒนธรรมของโลก ได้แก่ ระบบฟิวดัสในยุโรป การฟื้นฟูศิลปวิทยาการและการปฏิรูปศาสนา

........1. ระบบฟิวดัส หรือระบบสวามิภักดิ์ เป็นรูปแบบการปกครองของยุโรปในยุคกลาง เนื่องจากอำนาจของกษัตริย์เสื่อมอำนาจลงจึงมีการแย่งชิงอำนาจกันอย่างรุนแรงระหว่างกลุ่มผู้ปกครองในท้องถิ่น โดยราษฎรที่อาศัยอยู่ในแต่ละท้องถิ่นจะต้องพึ่งพาอาศัยขุนนางที่มีอำนาจอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ ส่งผลทำให้ขุนนางเป็นผู้ที่มีอำนาจมาก โดยระบบฟิวดัสเป็นระบบอุปถัมภ์โดยมีที่ดินเป็นสิ่งกำหนดฐานะและลักษณะของความสัมพันธ์ของคนในสังคมซึ่งประกอบด้วย 2 ฝ่าย คือ มูลนายหรือลอร์ด และอีกฝ่ายเป็นข้ารับใช้

ผลกระทบของระบบฟิวดัสต่อพัฒนาการด้านต่างๆของยุโรป

................1. พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครอง ระบบนี้มีการกระจายอำนาจให้ขุนนางไปปกครองในแต่ละท้องถิ่นเป็นการส่งเสริมให้ขุนนางเป็นผู้ที่มีอำนาจในการปกครองเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดความสามัคคีกันของประชาชนในแต่ละท้องถิ่น

................2. พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ ระบบฟิวดัสมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์จากที่ดินระหว่างมูลนายกับข้ารับใช้เป็นเศรษฐกิจที่เพียงพอต่อการเลี้ยงตนเอง

................3. พัฒนาการทางด้านสังคมวัฒนธรรม ทำให้เกิดชนชั้นที่สำคัญในสังคม 3 ชนชั้น ประกอบด้วย ชนชั้นปกครอง มี กษัตริย์ ขุนนางและอัศวิน ชนชั้นพระ และชนชั้นกลางหรือพวกพ่อค้า

........ความเสื่อมของระบบฟิวดัส เกิดขึ้นในช่วงของคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจของยุโรปมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ประชาชนหันมาติดต่อค้าขายกันมากขึ้นจึงมีการผลิตสินค้าเพื่อส่งขายจำนวนมากสร้างความร่ำรวยให้กับชนชั้นกลางหรือพ่อค้า อาชีพเกษตรกรรมไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ประชาชนส่วนใหญ่หันไปสะสมวัตถุเพื่อสร้างความร่ำรวยและความสุขสบายให้กับตนเองมากขึ้น ทำให้ระบบฟิวดัสในยุโรปสิ้นสุดลง

........2. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14 – 17 โดยเป็นยุคที่ชาวยุโรปมีการฟื้นฟูศิลปวิทยาการต่างๆของกรีกและโรมันกลับมาศึกษาอีกครั้งหนึ่ง เป็นยุคที่ยกย่องเห็นคุณค่าของมนุษย์โดยเน้นมนุษย์นิยมมากขึ้น สนใจในวิชาศิลปศาสตร์เพื่อปลดปล่อยจิตวิญญาณให้เป็นอิสระจากการควบคุมของศาสนจักร


........3. การปฏิรูปศาสนา เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 16 ในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นช่วงของปลายยุคกลางซึ่งถือเป็นยุคมืดที่คริสตจักรมีอิทธิพลปกครองไปทั่วยุโรป การปฏิรูปศาสนาเริ่มโดยมาร์ติน ลูเทอร์ ค.ศ. 1517 ได้มอบข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปศาสนา 95 ข้อแก่ศาสนจักรเพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกแลสะสถาบันสันตะปาปา ผลคือ ลูเทอร์ถูกประกาศให้เป็นคนนอกรีตและต้องหลบซ่อนตัวอยู่เป็นเวลานานและทำให้ตั้งนิกายลูเทอร์รันขึ้นในเยอรมัน

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

13.การปฏิวัติอุตสาหกรรม






การปฏิวัติอุตสาหกรรม
1x42.gif

การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ด้านเทคนิควิธีและเทคโนโลยีในการผลิตจากเดิมที่ใช้แรงงานคนหรือแรงงานสัตว์มาเป็นกระบวนการผลิตที่ใช้เครื่องจักรกลที่มีความสลับซับซ้อนและให้ผลผลิตได้ในปริมาณมาก
........การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษในราวปีค.ศ. 1760 และได้แพร่หลายไปยังประเทศตะวันตกต่างๆ ตลอดจนภูมิภาคอื่นของโลกในเวลาต่อมา
........การปฏิวัติอุตสาหกรรมจึงนับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่มีผลกระทบต่อการเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของมนุษยชาติทั่วโลก

โดยแบ่งระยะเวลาออกเป็น 2 ช่วงคือ
........1. การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรก เกิดขึ้นระหว่างปีค.ศ. 1760 - 1850 การปฏิวัติอุตสาหกรรม ช่วงแรกเริ่มขึ้นเมื่อมีการประดิษฐ์สิ่งที่ใช้ทดแทนแรงงานคนในอุตสาหกรรมการทอผ้าของอังกฤษ
........การประดิษฐ์ที่สําคัญ เช่น การประดิษฐ์เครื่องทอผ้าแบบกระสวยพุ่งหรือกี่กระตุกของจอห์น เคย์ ชาวอังกฤษ
........การผลิตเครื่องปั่นด้ายชนิดที่สามารถปั่นด้ายได้ครั้งละหลายเส้นของเจมส์ ฮาร์กรีฟส์ ชาวอังกฤษ
........และการผลิตเคร่ื่องแยกเมล็ดฝ้ายออกจากเส้นใยของอีไล วิทนีย์ ชาวอเมริกัน
........นวัตกรรมเหล่านี้ทําให้การปลูกฝ้ายและความต้องการแรงงานไร่ฝ้ายขยายตัวอย่างรวดเร็ว
........การประดิษฐ์ที่มีการพัฒนาควบคู่กับการทอผ้า คือ เครื่องจักรไอน้ำ ซึ่งได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเจมส์ วัตต์ ชาวสก็อตแลนด์ ........พลังไอน้ําได้ถูกนำมาใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรในอุตสาหกรรมทอผ้า  และได้ขยายไปสู่การผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเหมืองแร่หรือเหล็ก
........สิ่งประดิษฐ์อีกประเภทที่มีชื่อเสียงมากในยุคนี้ ได้แก่ หัวรถจักรไอน้ำที่มีชื่อว่า “Rocket” ของจอร์จ สตีเฟนสัน ชาวอังกฤษ​
........หัวรถจักรไอน้ำของสตีเฟนสันนับเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ยุคการใช้รถไฟโดยสาร และทําให้มีการเปิดบริการเส้นทางรถไฟสายแรกของโลกระหว่างเมืองลิเวอร์พูลกับแมนเชสเตอร์ในอังกฤษ

........2. การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2 เป็นยุคที่มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2
........ถ่านหินและเครื่องจักรไอน้ำลดความสำคัญลง และเริ่มถูกแทนที่ด้วยพลังงานใหม่อย่างเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียมและพลังงานไฟฟ้า
........โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลที่ทำด้วยเหล็กกล้าและอุตสาหกรรมเคมี
........ยุคนี้มีนักประดิษฐ์คนสำคัญหลายคน อาทิเช่น เฮนรี เบสเซเมอร์ ชาวอังกฤษผู้ค้นพบวิธีทำเหล็กถลุงให้มีคุณสมบัติดีขึ้นหรือทีี่เรียกว่าเหล็กกล้า
........และซิดนีย์ กิลไครสต์ โทมัส ชาวอังกฤษผู้​ค้นพบวิธีกำจัดฟอสฟอรัสออกจากน้ำเหล็ก ที่ได้จากกรรมวิธีเบสเซเมอร์
........เหล็กกล้าจึงเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมและการก่อสร้างหลากหลายประเภท ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
........ได้มีการประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินขึ้น โดยคาร์ล เบนซ์และกอตต์ลีบ เดมเลอร์ ชาวเยอรมัน
........สามารถนำเครื่องยนต์เบนซินมาใช้กับรถยนต์เป็นผลสำเร็จ

........นอกจากนี้ยังมีอเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ ชาวสก็อตแลนด์ผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์
........และโทมัส อัลวา เอดิสัน ชาวอเมริกันที่ได้ทำการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ดั้งเดิมตั้งแต่โทรศัพท์ เครื่องส่งโทรเลข เครื่องขยายเสียงไปจนถึงหลอดไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

........กระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรกและระยะที่ 2 นั้นไม่อาจที่จะแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด
........เพราะวิวัฒนาการของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทั้งสองช่วง มีความเชื่อมโยงกัน
การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 1 และ 2 นั้น ยังถือเป็นยุคก่อกำเนิดพัฒนาการของความรู้ต่างๆ ของโลกปัจจุบัน ตลอดจนวางโครงสร้างของระบบโลกในทางเศรษฐกิจ
การเมืองและสังคมอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

1x42.gif

12.การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์



การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
1x42.gif
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์   คือ การพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของโลกตะวันตกที่เกิดขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 - 18
........ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่มีการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติของโลกและจักรวาล และมีการค้นคว้าทดลองทฤษฎีต่างๆทางวิทยาศาสตร์มากมาย
........สำหรับปัจจัยที่นำไปสู่การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์นั้นมีหลายประการ ตั้งแต่การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ อันเป็นเหตุให้มนุษย์หลุดพ้นจากอิทธิพลการครอบงำของคริสตจักร และมีอิสระทางความคิดมากขึ้น ประกอบกับที่มีการประดิษฐ์คิดค้นวิธีการพิมพ์หนังสือ
........ทำให้สามารถพิมพ์ตำราเผยแพร่ความรู้ทางศาสตร์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ นำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการค้นคว้าและวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ

........นอกเหนือจากนี้ การสำรวจทางทะเลและการค้นพบดินแดนใหม่ในโลกตะวันออกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา
........ก็เอื้อให้ชาวตะวันตก มีโอกาสติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้กับคนต่างชาติ ต่างวัฒนธรรม และทำให้อารยธรรมความรู้จากชาติต่างๆ อาทิ จีน อินเดีย อาหรับและเปอร์เชียเผยแพร่เข้ามาในสังคมตะวันตกมากขึ้น
........ซึ่งส่งผลให้องค์ความรู้ขยายขอบเขตกว้างขวางออกไป สิ่งสำคัญที่เป็นหัวใจของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ก็คือกระบวนการค้นหาความจริงอย่างเป็นขั้นตอน
........อันนำไปสู่ผลสรุปที่สามารถอธิบายได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ยุคการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์จึงได้ชื่อว่า  “ยุคแห่งภูมิธรรม”

........หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรปผู้ทรงอิทธิพลที่จุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ และมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ กาลิเลโอ กาลิเลอี ชาวอิตาเลียน
........แนวคิดล้ำยุคผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งโลกวิทยาศาสตร์  กาลิเลโอเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีความเฉื่อยและการตกของวัตถุ
........อีกทั้งยังเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องดูดาวแบบหักเหแสงได้เป็นคนแรก

........การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับดวงดาวและจักรวาลของกาลิเลโอ ช่วยยืนยันทฤษฎีเกี่ยวกับสุริยะจักรวาล ที่มีมาก่อนหน้านี้ของนิโคลัส โคเปอร์นิคัส นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ ที่กล่าวว่าโลกเป็นเพียงดาวดวงหนึ่งในระบบสุริยะจักรวาลที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางว่าถูกต้อง

........นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งก็คือ ไอแซค นิวตัน ชาวอังกฤษ ผู้ค้นพบข้อเท็จจริงที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์หลายสิ่ง จนได้รับสมญานามว่าบิดาของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ทฤษฎีหลักสองทฤษฎีที่นิวตันค้นพบในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 คือ
........กฎแรงโน้มถ่วงสากลและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน นิวตันได้แสดงให้เห็นว่า
การเคลื่อนที่ของวัตถุบนโลกและวัตถุบนท้องฟ้าล้วนอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติชนิดเดียวกัน
........โดยแสดงให้เห็นความสอดคล้องระหว่างทฤษฎีการโคจรของดาวเคราะห์ของโจฮันเนส  เคปเลอร์ ชาวเยอรมัน กับทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของตน
........ผลจากการค้นพบทฤษฎีทั้งสองช่วยยืนยันแนวคิดที่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล และทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่า
........เพราะเหตุใดโลกและดาวเคราะห์จึงหมุนรอบดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์จึงหมุนรอบโลกได้โดยไม่หลุดจากวงโคจร
........รวมไปถึงอธิบายสาเหตุที่ทำให้วัตถุต่างๆ ตกจากที่สูงลงสู่พื้นดินโดยไม่หลุดลอยไปในอวกาศ ซึ่งช่วยให้การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง
........การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ยังผลให้ผู้คนในชาติตะวันตกเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง และสามารถนำความรู้และทฤษฎีใหม่ๆ
........มาใช้พัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว วิทยาศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
........ทั้งในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม และเป็นสาเหตุผลักดันให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 18
........ซึ่งทำให้หลายประเทศในยุโรปพัฒนานวัตกรรมด้านการผลิตจนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกในเวลาต่อมา

1x42.gif

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

11.ยุคแห่งการสำรวจและการค้นพบ


ยุคแห่งการสำรวจและการค้นพบ
เป็นส่วนหนึ่งของลัทธิจักรวรรดินิยมยุคเก่า

ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ชาวยุโรปออกเดินทางจากทวีปของตนไปสำรวจทางทะเลโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อแสวงหาคู่ค้าขายใหม่ รวมไปถึงสินค้าและทรัพยากรหายากภายในดินแดนต่างๆของโลกใหม่ที่ถูกค้นพบ ในระยะที่ยุโรปฟื้นตัวภายหลังสงครามครูเสด
ชาวอิตาเลียนได้ใช้นครเวนิสซึ่งเป็นสถานีการค้าเก่าแก่ทั้งก่อนและระหว่างสงครามติดต่อกับโลกภายนอกก่อนชาติใดในยุโรป ชาวเวนิสที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในฐานะนักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ เห็นจะไม่มีใครเกินมาร์โค โปโล ผู้ใช้เส้นทางบกจากยุโรปไปถึงนครปักกิ่งในประเทศจีนเมื่อปีค.ศ. 1271 และใช้ชีวิตในเมืองจีนนานกว่า 15 ปีก่อนจะเดินทางกลับอิตาลีทางเรือ
แม้ว่ามาร์โค โปโลจะไม่ใช่ชาวตะวันตกคนแรกที่เดินทางไปถึงเมืองจีน แต่ก็เป็นคนแรกที่ได้เขียนบันทึกการเดินทางอธิบายถึงเมืองจีนอย่างละเอียด และยังเป็นคนแรกที่กล่าวถึงแผ่นดินชวา สุมาตรา พม่าและสยามอีกด้วย

เรื่องที่มาร์โค โปโลเขียนไว้ได้ปลุกกระแสแห่งการเดินทางและสำรวจโลกใหม่ของชาวยุโรปในสมัยหลังๆเป็นอย่างมาก
ดังนั้นจึงไม่ผิดที่จะกล่าวว่าเขาคือคนแรกที่เปิดเส้นทางการค้าและวัฒนธรรมระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตก
การสำรวจและการเดินทางของชาวยุโรปภายหลังการค้นพบของมาร์โค โปโลชะงักลงจวบจนล่วงเข้าคริสต์ศตวรรษที่ 15
จึงเกิดการรวมศูนย์กลางทางการเมืองครั้งใหม่ในยุโรปใต้ โดยเฉพาะบนคาบสมุทรไอบีเรียซึ่งมีสเปนและโปรตุเกสตั้งอยู่

ยุคแห่งการสำรวจและการค้นพบที่เริ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15
ไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ประจวบกับช่วงที่ชาวยุโรปตะวันตก เริ่มมีความรู้ในการใช้เข็มทิศและแผนที่
ประกอบกับมีพัฒนาการเดินเรือแบบใหม่ วิทยาการที่ก้าวหน้าเหล่านี้ช่วยกระตุ้นให้ชาติตะวันตกแสวงหาเส้นทางการค้าขายใหม่และหลั่งไหลสู่โลกตะวันออกมากขึ้น
คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถือเป็นช่วงการแข่งขันอำนาจทางทะเลระหว่างโปรตุเกสและสเปน ซึ่งเป็นสองชาติตะวันตกหลักที่มีบทบาทในการสำรวจทางทะเลยุคนี้
โดยบาร์โธโลมิว ไดแอสสามารถเดินเรือผ่านแหลมกู้ดโฮปได้สำเร็จในปีค.ศ. 1488
เส้นทางสำรวจของไดแอสได้ปูทางให้วาสโก ดา กามาสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการตามรอย จนสามารถค้นพบเส้นทางการเดินเรือจากยุโรปสู่อินเดียได้ในเวลาหนึ่งทศวรรษต่อมา
ส่วนทางฝั่งกษัตริย์สเปน ก็ได้สนับสนุนให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักสำรวจชาวอิตาลี ผู้เชื่อว่าโลกกลมออกเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในปี ค.ศ.1492
จนกระทั่งค้นพบหมู่เกาะเวสต์อินดีสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทวีปอเมริกาใต้โดยบังเอิญ นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนให้เฟอร์ดินานด์ แมกเจลลัน นักเดินเรือชาวโปรตุเกสเดินทางผ่านช่องแคบที่ตั้งชื่อภายหลังว่า “แมกเจลลัน” ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ และข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกมาทางทวีปเอเชีย
........แม้ว่าแมกเจลลัน จะถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตายที่เกาะฟิลิปปินส์  แต่ลูกเรือของเขาสามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรอินเดีย กลับไปยังสเปนได้สำเร็จในปีค.ศ. 1522 ซึ่งนับว่าเป็นการเดินเรือรอบโลกสำเร็จครั้งแรกในประวัติศาสตร์
........การแข่งขันอำนาจทางทะเลระหว่างโปรตุเกสกับสเปนยุติลงเมื่อโปรตุเกสตกอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนในช่วงค.ศ. 1580 - 1640
........นอกจากโปรตุเกสและสเปนแล้ว เนเธอร์แลนด์และอังกฤษก็เป็นชาติตะวันตกที่มีบทบาทสำคัญในยุคการสำรวจทางทะเลนี้
........โดยเรือของเนเธอร์แลนด์ได้ค้นพบทวีปออสเตรเลียเป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1605 และเรียกทวีปนี้ว่า “นิวฮอลแลนด์” จนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18
........อังกฤษได้ครอบครองและเรียกทวีปนี้ใหม่ว่า “ออสเตรเลีย” นอกจากนี้อังกฤษยังสามารถสลายอำนาจทางทะเลของโปรตุเกส และเข้าไปมีอำนาจครอบครองอินเดียและอเมริกาเหนืออีกด้วย

10.การแบ่งยุคประวัติศาสตร์ไทย


การแบ่งยุคประวัติศาสตร์ไทย
1x42.gif
การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ เป็นการแบ่งช่วงเวลา โดยกำหนดให้เชื่อมโยงกับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์
โดยประวัติศาสตร์ไทยมีการแบ่งยุคสมัยคล้ายกับประวัติศาสตร์สากล คือ แบ่งออกเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ และในแต่ละสมัยก็ได้ถูกแบ่งเป็นยุคสมัยย่อยๆลงไปอีกเพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนี้
........1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นสมัยที่ยังไม่ปรากฏลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้ในการสื่อสาร ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ยุคนั้นจึงต้องอาศัยหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้และร่องรอยต่างๆที่เหลือทิ้งไว้ สมัยก่อนประวัติศาสตร์นิยมแบ่งช่วงเวลาออกเป็นยุคหินกับยุคโลหะ

................1.1 ยุคหิน คือ ยุคที่มนุษย์รู้จักนำหินมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ แบ่งย่อยออกเป็นยุคต่างๆตามลักษณะของเครื่องมือหิน ได้แก่
........................1.1.1 ยุคหินเก่า มีอายุประมาณ 500,000 - 10,000 ปีมาแล้ว ตัวอย่างแหล่งชุมชนมนุษย์ยุคหินเก่าในดินแดนไทย เช่น ถ้ำพระ จังหวัดกาญจนบุรี บ้านแม่ทะ จังหวัดลำปาง เป็นต้น
........................1.1.2 ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 - 6,000 ปีมาแล้ว ตัวอย่างแหล่งมนุษย์ยุคหินกลางในดินแดนไทย เช่น ถ้ำไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
........................1.1.3 ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 6,000 - 4,000 ปีมาแล้ว ตัวอย่างแหล่งมนุษย์ยุคหินใหม่ในดินแดนไทย เช่น บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น

................1.2 ยุคโลหะ คือ ยุคที่มนุษย์รู้จักนำโลหะมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ แบ่งตามชนิดของวัสดุเป็น 2 ยุค ได้แก่
........................1.2.1 ยุคสำริด มีอายุประมาณ 4,000 - 2,500 ปีมาแล้ว ตัวอย่างแหล่งมนุษย์ยุคสำริดในดินแดนไทย เช่น บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
........................1.2.2 ยุคเหล็ก มีอายุประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว ตัวอย่างแหล่งมนุษย์ยุคเหล็กในดินแดนไทย เช่น บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี บ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น

........2. สมัยประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์เป็นสมัยที่ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่ใช้ในการสื่อสาร การแบ่งช่วงสมัยประวัติศาสตร์ไทยโดยละเอียดมีดังนี้

................2.1 สมัยก่อนการตั้งอาณาจักรสุโขทัย เช่น อาณาจักรละโว้ (พุทธศตวรรษที่ 12 - 18) อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11 - 16) เป็นต้น
................2.2 สมัยสุโขทัย เริ่มตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์สมบัติและสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีเมื่อพ.ศ. 1781 สมัยสุโขทัยเป็นช่วงที่มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยหลายประการ แต่ที่โดดเด่นที่สุดก็คือ กำเนิดลายสือไทยหรือตัวหนังสือไทยที่ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
................2.3 สมัยอยุธยา อาณาจักรอยุธยาเป็นราชธานีที่ยาวนานที่สุดถึง 417 ปีตั้งแต่พ.ศ. 1893 - 2310
................2.4 สมัยธนบุรี อาณาจักรธนบุรีมีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในระยะเวลาเพียง 15 ปีตั้งแต่พ.ศ. 2310 - 2325  
................2.5 สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน  ซึ่งสามารถแบ่งเป็นสมัยย่อยได้ ดังนี้
........................2.5.1 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 ถือเป็นช่วงการฟื้นฟูอาณาจักรในทุกด้านต่อจากสมัยธนบุรี
........................2.5.2 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ยุคปรับปรุงประเทศ อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นช่วงที่มีการติดต่อกับต่างชาติและปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก ไปจนถึงเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
........................2.5.3 สมัยประชาธิปไตย นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุดในการปกครองประเทศเมื่อปีพ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน

1x42.gif